วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 4

30 มกราคม  2561





การเรียนการสอน : วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนจับกลุ่มกัน 5 - 6 คน แล้วจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้หัวข้อเรื่องความต้องการของเด็กปฐมวัยแต่ละหััวข้อนั้นจะประกอบไปด้วย

1. ความหมายและความต้องการของเด็กปฐมวัย

2. ครูจะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร

3. พ่อแม่ผู้ปกครอง จะมีวิธีการตอบสนองอย่างไร


กลุ่มของพวกเราช่วยกันคิดคำตอบของแต่ละหัวข้อ โดยที่ได้คำตอบออกในแต่ละหัวข้อ ดังนี้

1.ความหมายและความต้องการของเด็กปฐมวัย

>> ความต้องการพื้นฐานทางกายเพื่อให้ดำรงอยู่

>> ความต้องการความอิสระควบคู่ไปกับความต้องการพื้นฐานทางกาย

>> ความต้องการของผลสัมฤทธิ์ มักจะต้องเกิดผลสัมฤทธิ์ทั้งสิ้น

>>  ความต้องการประสบการณ์ท้าทาย

>> ความต้องการมีเพื่อน

2.ครูจะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร

>> ครูต้องจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย

>> ความต้องการอิสระควบคู่ไปกับพื้นฐานทางกายโดยครูเป็นผู้ตั้งโจทย์สร้างบรรยากาศและส่งเสริมเพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการผ่านทักษะทางด้านร่างกายที่เป็นเครื่องมือในการแสดงออก

>> ความต้องการผลสัมฤทธิ์ มักจะต้องการให้ลดผลสัมฤทธิ์ทั้งสิ้น ในการจัดการเรียนการสอนและการทำกิจกรรมต่างๆครูต้องปฏิบัติให้เด็กเห็นภาพแล้วจึงปฏิบัติตามและทำให้เด็กเกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนของครู

>> ครูควรจัดกิจกรรมใหม่ๆให้กับเด็ก

3. พ่อแม่ผู้ปกครอง จะมีวิธีการตอบสนองอย่างไร

>> ผู้ปกครองควรจะพาเด็กๆไปทำกิจกรรมนอกบ้าน

>> ผู้ปกครองควรให้อิสระกับเด็ก

>> ผู้ปกครองต้องสนับสนุนกิจกรรมของครูที่ให้เด็กได้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตัวเด็กเอง

>> ผู้ปกครองควรพาเด็กๆไปเล่นกิจกรรมที่ใหม่ๆเพื่อให้เด็กได้ลองสิ่งใหม่ที่เด็กไม่รู้











วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 3

23 มกราคม  2561



บทที่  2 ทฤษฏีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

ทฤษฏีพัฒนาการกับเด็กปฐมวัย

1.ซิกมันด์   ฟรอยด์ ( Sigmond  Freud )



>>>  เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระหรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญญาณ <<<

2. อีริค  อีริคสัน ( Erik  H. Erikson ) 



>>>  เป็นนักจิตวิทยาพัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากมีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว <<<

3. อาร์โนลด์  กีเซล  ( Arnold  Gesell ) 



>>>  เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ โดยกล่าวว่า " วุฒิภาวะ " เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก <<<

4. ฌอง  เพียเจท์  ( Jean Piaget ) 



>>>  เป็นนักจิตวิทยาชาวสวิทได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา  <<<


5. ลอเรนซ์   โคลเบิร์ก  ( Lowrence  Kohlberg )



>>> เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดและผลงานมาตากเพียเจท์ <<<

6. เจอโรม  บรุนเนอร์  ( Jerome.S.Bruner ) 



>>>  ได้เสนอทฤษฏีเกี่ยวกับพัฒนาการทางการคิดและการใช้เหตุผล ( Cognitive ) โดยอาศัยความคิดของเพียเจท์เป็นหลัก <<<







วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 2

16  มกราคม   2561



บทที่  1  เด็กปฐมวัยและการพัฒนาการ

ความหมายของเด็กปฐมวัย : เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี มีธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็น   ช่างสังเกต  ช่างซักถาม  ชอบค้นคว้าสำรวจ อยู่ไม่นิ่ง ชอบอิสระเป็นตัวของตัวเอง เป็นที่กำลังพัฒนาคุณภาพชีวิตทางร่างกาย  อารมณ์ สังคม และสติปัญญาอย่างเต็มที่

ความหมายของพัฒนาการ : การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม และสติปัญญาซึงมีความสัมพันธ์ระหว่าง  เวลา  วุฒิภาวะ การเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม อันส่งผลให้มนุษย์มีความสามารถและพฤติกรรมที่แตกต่างกันและเป็นไปตามศักยภาพ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

1. อาหาร

2. อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด

3. เชืิ้้อชาติ

4. เพศ

5. ต่อมต่างๆของร่างกาย

6. สติปัญญา

7. การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ

8. ตำแหน่งในครอบครัว

พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 6 ขวบ

>> การปฏิสนธิ คือ การผสมของอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธ์ุของพ่อกับเซลล์ของแม่คือไข่รวมเป็นเซลล์เดียวกันเกิดการปฏิสนธิ ( Conception ) เกิดเป็นเซลล์เล็กกว่าไข่ใบเดิมมีขนาด 0.5 มิลลิเมตร ซึ่งเล็กกว่าจุด นั่นคือจุดเริ่มต้นของชีวิต << 

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์แบ่งเป็น 3 ระยะ

1. ระยะไข่ ( Ovum )  ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 14 วัน

2. ระยะลูกอ่อน ( Embryo ) ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน

3. ระยะอ่อน ( Fetus ) ตั้งแต่ 2 เดือนถึง 9 เดือน

ความต้องการของเด็กปฐมวัย

1. ความต้องการด้านร่างกาย

2. ความต้องการด้านอารมณ์

3. ความต้องการของสังคม

4. ความต้องการด้านสติปัญญา



คลิปวิดีโอการปฏิสนธิ





คลิปวิดีโอการคลอด


วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 1

9  มกราคม  2561



วิชา : การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

คำอธิบายรายวิชา :พัฒนาการความต้องการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยทฤษฎีพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดู หลักการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและสวัสดิศึกษา การดูแลสุขภาพอนามัย โภชนาการของเด็กปฐมวัย บทบาทของผู้อบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา

ผลลัพธ์การเรียนรู้

1. ด้านคุณธรรม  จริยธรรม

2. ด้านความรู้

3. ด้านทักษะทางปัญญา

4. ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

5. ด้านทักษะเชิงวิเคราะห์ทางตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ




วันแรกของการเรียน :  อาจารย์ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการของเทอมที่ 2 ให้ว่าต้องทำอะไรส่งบ้างแล้วแต่ละอาทิตย์จะมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องอะไรมีกิจกรรมอะไรบ้างภายในห้องเรียนพออาจารย์ได้ชี้แจงเสร็จแล้วก็ได้มอบหมายงานเดี่ยวให้แต่ละคนให้ไปหาบทความเกี่ยวกับการเลี้ยงดูอบรมเด็กปฐมวัยมาคนล่ะ 1 บทความแล้วให้นำออกมาเล่าให้เพื่อนฟัง




ครั้งที่ 15

24 เมษายน 2561  วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่มกัน 3 กลุ่ม แล้วคิดเมนูอาหารขึ้นมาโดยประกอบไปด้วย อาหารจานหลักและขนมหวาน กลุ่มข...