20 กุมภาพันธ์ 2561
>> วันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละคนมาอ่านบทความเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมาคนละ 1 บทความ โดยที่แต่ละคนเสนอบทความมาไม่ซ้ำกัน วันนี้ได้ออกมาอ่านบทความเรื่อง
" การพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย " <<
การพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย : เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนกระทั่งเข้าสู่อายุ 3-6 ปีซึ่งมีลักษณะพิเศษกว่าประสบการณ์ในช่วงวัยอื่นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านที่เกิดขึ้นอย่างผสมผสานในช่วงเวลาเดียวกันและสามารถสังเกตเห็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงช้าเร็วแตกต่างกันแต่ส่วนมากแล้วพฤติกรรมก็มักจะเป็นไปตามแบบแผนและมีรูปแบบและทิศทางเดียวกันหลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัยสามารถแบ่งออกเป็นประเด็นต่างๆโดยยึดหลักของพัฒนาการมนุษย์ดังนี้
1.1 องค์ประกอบของพัฒนาการ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ขององค์ประกอบสำคัญ 2 อย่าง คือ
- วุฒิภาวะ
- การเรียนรู้
1.2 แบบแผนของพัฒนาการ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทุกคนเปลี่ยนแปลงไปตามแบบแผนเดียวกัน คือ
- แบบแผนพัฒนาของพัฒนาการเด็กปฐมวัยทุกคนมีลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเหมือนกันเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและมีทิศทางก้าวหน้าโดยไม่ข้ามขั้นและไม่มีการหยุดนิ่งอยู่กับทีพัฒนาการในขั้นต้นจะเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในขั้นต้นจะเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในขั้นต่อไปที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ชัดเจนสามารถวัดได้โดยเฉพาะการเพิ่มขนาดของรูปร่างและอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายเมื่อเด็กอายุมากขึ้นและได้รับสารอาหารที่เพียงพอตามความต้องการของร่างกายขนาดของร่างกายก็จะขยายใหญ่ขึ้นส่วนสูงและน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นรวมทั้งการแสดงออกถึงขีดความสามารถในด้านต่างๆก้เพิ่มขึ้นด้วย
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อนเกี่ยวข้องกับกลไกในการทำงานภายในร่างกายที่ก่อให้เกิดความสามารถใหม่ๆ
- ความสัมพันธ์ของพัฒนาการแต่ละด้าน พัฒนาการของเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน พัฒนาการทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ สังคม สติปัญญา มีความสำคัญเสมอภาคและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมดการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมส่งผลให้พัฒนาการด้านอืนเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งในทางบวกและทางลบ
- ลักษณะเด่นของพัฒนาการ แต่ละช่วงของการเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนของพัฒนาการลักษณะบางอย่างอาจพัฒนาเร็วกว่าลักษณะอื่นและสังเกตเห็นเด่นชัดได้
- ความคาดหวังพัฒนาการ พัฒนาการมนุษย์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีขั้นตอนและได้ถูกกำหนดไว้อย่างแน่นอนจึงสามารถทำนายคาดหวังความสามารถและพฤติกรรมตามขั้นพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็กอย่างคร่าวๆได้
- ความเสื่อมของพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา มีทั้งการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะหรือความสามารถใหม่ๆและความเสื่อมหรือการสูญเสียคุณลักษณะหรือความสามารถเดิมบางอย่าง
1.3 ลักษณะของพัฒนาการ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทุกด้านมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างแน่นแฟ้นและมีทิศทางการพัฒนาที่แนนอน คือ
- พัฒนาการด้านร่างกาย
- พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
- พัฒนาการด้านสังคม
- พัฒนาการด้านสติปัญญา
1.4 อัตราของพัฒนาการ ขีดความสามารถตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแต่ละคนจะเร็วหรือช้ากว่าอัตราที่เป็นเกณฑ์ปกติได้และมีความแตกต่างกันคือ
- ความแตกต่างภายในบุคคล คือ ธรรมชาติได้กำหนดให้พัฒนาการของระบบและส่วนต่างๆของร่างกายในตัวเด็กแต่ละคนมีอัตราการเจริญเติบโตไม่เท่ากันในช่วงอายุหนึ่งๆของบุคคลนั้นเช่นกัน